Shopping Cart

No products in the cart.

6 สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเรา เมื่อทำงานบนเตียงบ่อยๆ

  • หน้าหลัก
  • All News
  • 6 สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเรา เมื่อทำงานบนเตียงบ่อยๆ

      

มีใครชอบทำแบบนี้บ้าง? ชอบเอางานมาทำบนเตียง เอนตัวพิงหมอนแล้ววาง Notebook บนตัก เช็คอีเมลตอบงานบ้าง ประชุม Zoom บนเตียงนอนบ้าง หลายคนคิดว่า การได้ทำงานบนเตียงนั้นคือสุดยอดของความสบาย ไหนจะเตียงที่นุ่มๆ หมอนหนุนเอย หมอนข้างเอย ผ้าห่มเอย สบายสุดๆ แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าเราทำงานบนเตียงบ่อยๆ เตรียมตัวไว้เลยว่าเราจะพบกับ 6 สิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายต่อสุขภาพ

1. คุณภาพการนอนลดลง

นักจิตอายุรเวทและนักกายภาพบำบัด ให้ข้อมูลตรงกันว่า เมื่อเราใช้เตียงนอนทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่การนอนหลับพักผ่อนอยู่บ่อยๆ เช่น ทำงาน อ่านหนังสือ หรือดูทีวี ร่างกายของเราก็จะตื่นตัวเวลาอยู่บนเตียง และเริ่มสับสนว่า ตอนไหนคือช่วงเวลาของการพักผ่อน ตอนไหนคือช่วงเวลาของการทำงาน ส่งผลให้เกิดภาะนอนหลับยาก หรือพอล้มตัวลงนอนปุ๊บ ตาก็สว่างปั๊บ จนต้องใช้ยานอนหลับ และมีการวิจัยอีกว่าความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอมือถือ ทำให้เมลาโทนิน หรือฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากสมองในเวลากลางคืนเพื่อทำให้เรารู้สึกง่วงลดลงได้ ดังนั้นเราจึงควรปิดหน้าจอเหล่านี้ก่อนถึงเวลานอนอย่างน้อย 30 นาทีและที่สำคัญไม่ควรเอางานมาทำบนเตียงนอน

2. ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

เมื่อเราทำงานบนเตียงนอนบ่อยๆ ทุกอย่างจะสับสนไปหมด พอเราล้มตัวลลงนอน ตาก็จะสว่าง พอเรานั่งทำงาน ตาก็อาจจะปิดเพราะความง่วง แล้วก็เผลอหลับไปโดยที่ยังทำงานไม่เสร็จ แถมยังเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาว ทำให้หลับยาก หลับไม่ดี เมื่อพักผ่อนไม่ดีพอ สมองก็ไม่แล่น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงได้

3. มีผลต่อสรีระของร่างกาย

เวลานั่งทำงานบนเตียงนานๆ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นเตียงนอน ไม่ใช่เตียงนั่ง พอเรานั่งทำงานบนเตียงนุ่มๆ ที่พื้นไม่เรียบเป็นเวลานานๆ อาจทำให้หลังงอ ปวดคอ เสี่ยงต่อโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูกได้

4. ความสัมพันธ์แย่ลง

เวลาบนเตียงควรถูกใช้ไปกับการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนใกล้ชิดและคนในครอบครัว เพราะเวลาที่เราจดจ่อกับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอมือถือ เรามักจะละเลยคนที่อยู่ข้างๆ สนใจคนข้างๆน้อยลง ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์กับคนพิเศษหรือคนในครอบครัวแย่ลงได้

5. ส่งผลต่อสุขอนามัยที่ดีของร่างกาย

เมื่อเรานั่งทำงานบนเตียงบ่อยๆ หรือนานๆ อาจจะมีเหงื่อหรือความชื้นจากร่างกายไปสัมผัสกับชุดเครื่องนอนบนเตียง ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียสะสมมากขึ้น อาจทำให้เกิดโรคทางผิวหนังหรือระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น

6. อารมณ์และพลังในการทำงานถดถอย

ปกติแล้วเตียงนอน มักจะถูกจัดให้อยู่ในมุมมืดๆ ผ้าม่านหนาๆ เพื่อป้องกันแสงสว่างและทำให้ห้องนอนมืดสนิทเหมาะกับการนอนหลับพักผ่อน แต่เมื่อเราใช้เตียงนอนเป็นโต๊ะทำงาน เราจึงนั่งทำงานในที่ที่แสงสว่างค่อนข้างน้อย อารมณ์และพลังในการทำงานจึงถดถอย รู้สึกง่วงตลอดเวลา แล้วยังส่งผลเสียต่อสายตาและการมองเห็นด้วย

ดังนั้นใครที่กำลังนั่งทำงานบนเตียงนอน ระวังปัญหาต่างๆ เหล่านี้ให้ดี ลองแยกส่วนของการทำงานและการพักผ่อนออกจากกันอย่างชัดเจน ถ้าจำเป็นต้องทำงานที่บ้านหรือ Work from Home ก็ลองซื้อโต๊ะทำงานและเก้าอี้ทำงานดีๆ แล้วก็จัดมุมทำงานให้ห่างจากเตียงนอน ส่วนพื้นที่การพักผ่อนก็ต้องปลอดจากเครื่องมือสื่อสารและหน้าจอต่างๆ อย่านั่งทำงานในชุดนอน เพราะจะทำให้ตวามกระตือรือร้นในการทำงานลดลง ที่สำคัญต้องแบ่งสัดส่วนของการทำงานและการใช้ชีวิตให้สมดุลหรือ work-life balance นั่นเอง

สำหรับใครที่อยากหาตัวช่วยในการรับมือกับเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสที่น่ากลัวบนที่นอน ขอแนะนำ Jessica ANTI-VIRUS … MULTI-FUNCTIONAL-BEDDING ซึ่งชุดเครื่องนอนเจสสิก้า ร่วมมือกับ HealthGuard® ผสานนวัตกรรมใหม่เพื่อปกป้องสุขภาพการนอนของคุณและคนในครอบครัวจากไวรัสและเชื้อโรค โดยผ่านการทดสอบประสิทธิภาพแล้วว่า HealthGuard® AMIC สามารถฆ่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับเชื้อไวรัส COVID-19 ได้มากถึง 99% จากสถาบัน VirHealth สถาบันทดสอบเฉพาะทางเรื่องไวรัสประเทศฝรั่งเศส  แล้วยังยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย และฆ่าเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดกลิ่นอับชื้นในผ้าและทำให้ผ้ามีกลิ่นสะอาดสดชื่นด้วย

เข้าไปดูรายละเอียดและช้อปกันได้ที่

Website : https://jessica.co.th/

Shopee : https://shope.ee/AK40MxFz2P

Lazada : https://s.lazada.co.th/l.X6jB

หรือสอบถามเพิ่มเติม  https://m.me/JessicaClub

#ที่นอนและชุดเครื่องนอนJessica

#ชุดเครื่องนอนJessica

#Jessica

#JessicaClub

#เอกสิทธิ์การนอนเหนือระดับ